กายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบน้ำตา

กายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบน้ำตา

น้ำตา จะมีลักษณะเป็นแผ่นน้ำตา/ฟิล์มน้ำตา (Tear film) โดยฟิล์มน้ำตาที่ฉาบผิวลูกตามีอยู่ 3 ชั้น

กายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบน้ำตา 1

จาก : https://gillopticians.ie/dry-eye-brake-through/

1. ชั้นไขมัน (Lipid layer): เป็นแผ่นน้ำตาชั้นนอกสุด

ที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบหลัก โดยสร้างจากต่อม Meibomian gland ในหนังตา ดังกล่าวแล้วในหัวข้อ หนังตา ซึ่งแผ่นน้ำตาชั้นนี้ อยู่ผิวหน้าสุดของฟิล์มน้ำตา มีหน้าที่ ป้องกันการระเหยของน้ำตา เนื่องจากอยู่ผิวหน้าสุด จึงสัมผัสกับอากาศ นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่ในการหักเหแสงช่วยการมองเห็น และมีแรงตึงผิว (Surface tension,แรงดึงดูดระหว่างของเหลว) ช่วยทำให้น้ำตาทั้งหมดฉาบทั่วผิวด้านหน้าลูกตา และยังช่วยปกป้องชั้นผิวหนังบริเวณขอบหนังตา โดยกันน้ำตาชั้นอื่นๆไม่ให้สัมผัสเปียกผิว หนังส่วนนี้โดยตรง

2. ชั้นสารน้ำ (Aqueous layer): เป็นแผ่นน้ำตาชั้นที่ 2

สร้างจากต่อมน้ำตาเสริมและต่อมน้ำตาประธาน น้ำตาชั้นนี้มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก และยังประกอบด้วย เกลือแร่ (Electro lyte) โปรตีน ตลอดจนสารต่างๆที่ได้มาจากเยื่อบุตา หรือแม้แต่จากกระจกตา รวมไปถึงสารภูมิต้านทาน Immunoglobulin และเอนไซม์ (Enzyme) ต่างๆที่ฆ่าเชื้อโรคได้ เช่น Lysozyme

3. ชั้นเมือก (Mucous layer): ซึ่งสร้างจาก Goblet cell

ของหนังตาดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ หนังตา เป็นแผ่นน้ำตาชั้นในสุด เป็นชั้นที่แนบติดกับเซลล์ผิวของเยื่อบุตาและของกระจกตา โดยมีส่วนประกอบเป็นสารหลายชนิด เช่น Mucin (เมือก) โปรตีน และเกลือแร่ โดยแผ่นน้ำตาชั้นนี้มีหน้าที่

สารเมือก ทำให้เซลล์ผิวกระจกตาซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Hydrophobic (ตัวผลักน้ำออก) กลายเป็น Hydrophilic (ตัวจับน้ำไว้) จึงจับน้ำตาชั้น Aqueous ได้ดี หากไม่มีน้ำตาชั้นนี้ เซลล์ผิวกระจกตาจะไม่เรียบซึ่งทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด หล่อลื่นผิวด้านหน้าลูกตาทั้งหมด ร่วมกับน้ำตาชั้นไขมัน ช่วยเพิ่มแรงตึงผิวของน้ำตา จึงช่วยยึดชั้นต่างๆของน้ำตาให้อยู่กันอย่างมั่นคง (Stabilize tear film) จับสิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อโรคไว้เป็นการป้องกันลูกตาติดเชื้อ ความผิดปกติของฟิล์มน้ำตา: ความผิดปกติของฟิล์มน้ำตา อาจเกิดได้จาก

กายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบน้ำตา 1

จาก : https://medodamerica.com/is-dry-eye-becoming-more-common/

  1. มีปริมาณ หรือ ส่วนประกอบผิดไป อาจเกิดจากขาดน้ำตาชั้นต่างๆชั้นใดชั้น หนึ่ง หรือทุกชั้น เช่น โรคต่างๆของหนังตา เยื่อบุตา หรือของต่อมน้ำตาประธาน
  2. การกระจายของน้ำตาไม่ดี ในกรณีตาไม่ค่อยกระพริบ (เช่น ทำงานหน้าคอม พิวเตอร์นานเกินไป) หรือจากผิวกระจกตาไม่เรียบ ผิวกระจกตาไม่สม่ำเสมอ
  3. การแนบกันไม่ดีระหว่างหนังตากับลูกตา เช่น ภาวะหนังตาไม่ปิดจากเส้น ประสาทสมองเส้นที่ 7 เป็นอัมพาต (Facial nerve palsy) หรือโรคอัมพาตเบลล์ เป็นต้น

“สายตา คือ สิ่งสำคัญในชีวิต”
เราพร้อมที่จะดูแล สิ่งสำคัญ ของชีวิตคุณ ❤️

ขอขอบคุณสำหรับการติดตาม
“ญาซากั้ลลอฮฺ ค็อยร็อน”

Reference: https://haamor.com/กายวิภาคและสรีรวิทยาของตา#article114

หน้าที่ของน้ำตาชั้นนี้ คือ ให้ออกซิเจนแก่กระจกตา ปรับระดับเกลือแร่ในน้ำตาให้เหมาะ สม ชะล้างสิ่งสกปรกและขี้ตา ฆ่าเชื้อโรคด้วยเอนไซม์ต่างๆที่มีอยู่ ช่วยปรับผิวตาดำให้เรียบเมื่อตาดำมีแผลขรุขระเล็กน้อย ซึ่งทำให้การมองเห็นดีขึ้น ในน้ำตาชั้นนี้ยังมีสารอื่นๆอีกที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เช่น Cytokine, Growth factor, Interleukin และสารเคมีอื่นๆ ซึ่งมีบทบาทช่วยการทำงานของเซลล์ผิวของกระจกตา (Corneal epithelium) และเซลล์ผิวของเยื่อบุตา (Conjunctival epithelium)

ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม

สวัสดีครับ
ดร.ซุล
สายตา คือ สิ่งสำคัญในชีวิต
เราจะดูแลสิ่งสำคัญในชีวิตคุณ ให้ดีที่สุด