หนังตา

หนังตา

หนังตา (Eye lid) มีทั้งหนังตาบน และหนังตาล่าง ในคนทั่วไป เมื่อลืมตาจะมีความกว้างหรือช่องระหว่างหนังตาบนและล่าง (Palpebral fissue) โดยส่วนกว้างสุดประมาณ 8-11 มิลลิ เมตร (มม.) หนังตาบนจะขยับเคลื่อนได้มากกว่าหนังตาล่าง โดยหนังตาบนขยับได้ถึงประมาณ 15 มม.จากการใช้กล้ามเนื้อยกหนังตา (Levator muscle) หากใช้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าผากช่วยด้วยอีก หนังตาบนจะขยับได้เพิ่มอีกประมาณ 2 มม. เป็นประมาณ 17 มม.

หนังตาอาจแบ่งเป็นชั้นต่างๆ นับจากผิวหนังด้านนอกสุดไปจนถึงชั้นเยื่อเมือก/ชั้นเยื่อตา (Conjunctiva) ด้านในสุดได้ดังนี้

หนังตา (Eye lid) มีทั้งหนังตาบน และหนังตาล่าง ในคนทั่วไป เมื่อลืมตาจะมีความกว้างหรือช่องระหว่างหนังตาบนและล่าง (Palpebral fissue) โดยส่วนกว้างสุดประมาณ 8-11 มิลลิ เมตร (มม.) หนังตาบนจะขยับเคลื่อนได้มากกว่าหนังตาล่าง โดยหนังตาบนขยับได้ถึงประมาณ 15 มม.จากการใช้กล้ามเนื้อยกหนังตา (Levator muscle) หากใช้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าผากช่วยด้วยอีก หนังตาบนจะขยับได้เพิ่มอีกประมาณ 2 มม. เป็นประมาณ 17 มม.

หนังตาอาจแบ่งเป็นชั้นต่างๆ นับจากผิวหนังด้านนอกสุดไปจนถึงชั้นเยื่อเมือก/ชั้นเยื่อตา (Conjunctiva) ด้านในสุดได้ดังนี้

หนังตา

จาก : https://aedit.com/concern/sagging-and-hooded-eyelids

  1. ชั้นผิวหนัง
  2. ชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (Subcutaneous tissue)
  3. ชั้นกล้ามเนื้อ (Orbicularis)
  4. ชั้นพังผืดกั้นเบ้าตา (Orbital septum)
  5. ชั้นแผ่นหนังตา (Tarsus)
  6. ชั้นเยื่อบุตา/ชั้นเยื่อตา (Conjuctiva) ซึ่งอยู่ในสุด เป็นชั้นที่สัมผัสกับลูกตา

1. ชั้นผิวหนัง: เป็นชั้นอยู่นอกสุด

จะเป็นผิวหนังที่บางมาก ที่บริเวณริมขอบของหนังตา จะมีขนตา (Eyelash) เรียงตัว 2-3 แถว โดยหนังตาบนจะมีขนตาประมาณ 100 เส้น ขณะที่ขนตาล่างมีประมาณ 50 เส้น ขนตาจะร่วงและงอกใหม่ทุกๆ 3-5 เดือน ถ้าตัด ขนตาจะงอกใหม่ในประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้าถอน ขนตาจะขึ้นใหม่ในประมาณ 2 เดือน บริเวณรากขนตาเป็นกระ เปาะ (Lash follicle) ซึ่งเป็นบริเวณที่หากมีการอักเสบติดเชื้อ จะเรียกว่า โรค/ภาวะตากุ้งยิง ชนิดเกิดภายนอก (External hordeolum)

2. ชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (Subcutaneous tissue)

เป็นเนื้อเยื่อบริเวณขอบหนังตาใกล้ขนตา เป็นเนื้อเยื่อบางๆ ไม่มีไขมัน

3. ชั้นกล้ามเนื้อ (Orbicularis)

เป็นกล้ามเนื้อซึ่งใยกล้ามเนื้อเรียงเป็นรูปกระสวยจากหัวตาไปหางตา เวลาหดตัว จะทำให้หลับตา และจะหดตัวอย่างแรงเมื่อเราบีบตาแน่น

บริเวณขอบขนตาชั้นนี้ สิ้นสุดเป็นแนวที่เรียก Gray line เป็นรอยต่อระหว่างผิวหนังกับเยื่อบุตา/เยื่อตา เรียกว่า Mucocutaneous junction เป็นรอยต่อที่จักษุแพทย์มักใช้เป็นหลักเพื่อแยกระหว่างชั้นผิวหนังกับชั้นเยื่อบุตา

4. ชั้นพังผืดกั้นเบ้าตา (Orbital septum)

ทำหน้าที่กั้นไม่ให้ไขมันจากเบ้าตา ปูดออกมาเมื่อมีการอักเสบของหนังตา ถ้าการอักเสบผ่านพังผืดนี้ไป การอักเสบจะลามไปยังเบ้าตา เข้าไปหลังลูกตา และเข้าสู่สมองได้

ทั้งนี้ การอักเสบของหนังตาที่เกิดหน้าต่อพังผืดนี้ เรียกว่า Preseptal orbital cellulitis ซึ่งเป็นการอักเสบที่ไม่รุนแรง แต่ถ้าการอักเสบนี้ผ่านพังผืดนี้เข้าไปด้านหลัง เรียกว่า Orbital cellulitis จะเป็นการอักเสบที่รุนแรงเพราะจะลุกลามเข้าสมองได้

5. ชั้นแผ่นหนังตา (Tarsus)

เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีลักษณะหนา มีความแข็งคล้ายกระดูกอ่อน แต่ไม่ใช่กระดูกอ่อน ทำหน้าที่เป็นโครงร่างของหนังตา ทำให้หนังตาบนยกปิดเปิดได้ โดยแผ่นหนังตา Tarsus ของหนังตาบน มีความกว้างตรงกลางมากสุด คือประมาณ 10-12 มม. สำหรับ Tarsus ของหนังตาล่างจะเล็กกว่า โดยมีขนาดกว้างประมาณ 4 มม. มีความหนา 1 มม. เท่ากับหนังตาบน

ภายในตัว Tarsus มีต่อมที่สำคัญ คือ ต่อม Meibomian gland ซึ่งทำหน้าที่สร้างน้ำตาชนิดมีไขมัน (อ่านเพิ่มเติมในหัวข้อ แผ่นน้ำตา ) เพื่อหล่อลื่นผิวดวงตา ต่อมนี้จะมีรูเปิดอยู่ที่ขอบหนังตา เห็นได้ชัดเป็นรูเปิดเล็กๆ ต่อมนี้มีจำนวนประมาณ 25 ต่อมที่หนังตาบน และประ มาณ 20 ต่อมที่หนังตาล่าง หากต่อมนี้อักเสบ จะเกิดโรค/ภาวะตากุ้งยิง ชนิดภายใน (Internal hordeolum)

6. ชั้นเยื่อบุตา/ชั้นเยื่อตา (Conjuctiva)

เป็นเนื้อเยื่อบางๆมี 2 ส่วน

หนังตา

จาก: https://mobile.twitter.com/jama_current/status/777235690459455490

ส่วนที่บุหนังตาด้านใน/เยื่อบุตาใต้หนังตา (ด้านที่นาบกับลูกตา เรียกว่า Palpe bral conjunctiva) มีเซลล์ที่เรียกว่า Goblet cell และมีต่อมน้ำตาขนาดเล็ก ทีเรียกว่า ต่อมน้ำตาเสริม (Accessory lacrimal gland) โดยช่วยกันสร้างน้ำตา
อนึ่ง จุดที่หนังตาบนจะมาจดกับหนังตาล่างด้านใน จะมีรูทางเดินน้ำตา เรียกว่า Punctum

ส่วนที่บุลูกตา (Bulbar conjunctiva) โดยด้านหัวตา จะมีตุ่มเนื้อเยื่อเรียกว่า Ca runcle ซึ่งเป็นส่วนที่จะเจริญเป็นหนังตาที่ 3 ในสัตว์ชั้นต่ำ (มีหน้าที่ปกป้องลูกตาและสร้างสารหล่อลื่นลูกตา) กล่าวคือ คนเรามี 2 หนังตา คือ บนและล่าง แต่ในสัตว์ชั้นต่ำมีหนังตาที่ 3 ซึ่งในคนจะหมดหน้าที่ เหลือเป็นตุ่มเล็กๆนี้ ตุ่มนี้อาจมีขนตาเส้นเล็กๆบางๆอยู่ด้วยคล้ายหนังตาบนและล่าง
อนึ่ง ในภาวะปกติ เมื่อตามองตรง

หนังตาบน ควรปิดตาดำลงมาประมาณ 1 มม. หากปิดลงมามากกว่านี้ เรียกว่า “ภาวะหนังตาตก (Ptosis)”

หนังตา

จาก : http://www.test.com

หรือถ้าหนังตาบนไม่สามารถปิดตาดำได้ โดยเห็นตาขาวเหนือตาดำ เรียกว่า “ภาวะตาโปน (Exophthalmos)”
ขอบหนังตาล่าง ควรแตะขอบตาดำพอดี ไม่เห็นตาขาวด้านล่าง ถ้าเห็นอาจจะสงสัยภาวะตาโปนได้ ขอบหนังตา ทั้งบนและล่าง ต้องแนบชิดลูกตา ถ้าหนังตาแบะออก เรียกว่า “ภาวะขอบตาแบะ (Ectropion)” หรือถ้าขอบหนังตาม้วนเข้าใน จะ เรียกว่า “ ภาวะขอบตาม้วนเข้า (Entropion)” ซึ่งภาวะนี้จะทำให้เกิดขนตาแยงตา/ขนตาเกเข้า (Trichiasis)

“สายตา คือ สิ่งสำคัญในชีวิต”
เราพร้อมที่จะดูแล สิ่งสำคัญ ของชีวิตคุณ ❤️

ขอขอบคุณสำหรับการติดตาม
“ญาซากั้ลลอฮฺ ค็อยร็อน”

Reference: https://haamor.com/กายวิภาคและสรีรวิทยาของตา#article114

ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม

สวัสดีครับ
ดร.ซุล
สายตา คือ สิ่งสำคัญในชีวิต
เราจะดูแลสิ่งสำคัญในชีวิตคุณ ให้ดีที่สุด