ปัญหา สายตาเด็ก มองเห็นไม่ชัด มีแนวทางรับมืออย่างไร?

ปัญหา สายตาเด็ก มองเห็นไม่ชัด มีแนวทางรับมืออย่างไร?

ปัญหา สายตาเด็ก มองเห็นไม่ชัด มีแนวทางรับมืออย่างไร?

“พ่อแม่รังแกฉัน” เป็นคำพูดของ คุณแม่ท่านหนึ่ง หลังจากที่ได้ทราบผลการตรวจสายตาของลูกอันเป็นที่รัก

ซึ่งแน่นอนไม่มีใครที่อยากให้คุณแม่รู้สึกแบบนี้ ดั้งนั้นเราต้องช่วยกัน สร้างความตระหนัก ความเข้าใจในเรื่อง ปัญหาสายตาของเด็ก ให้ผู้ปกครอง และ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงปัญหา ผลกระทบ การแก้ปัญหา และแนวทางการป้องกัน ครับ

ประเด็นสำคัญสุด

  • พ่อแม่ ผู้ปกครอง ร่วมถึงคุณครู ต้องช่วยกันสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ในเมื่อเด็กยังเป็นช่วงวัยอายุที่ยังไม่สามารถสื่อสารหรือพูดออกมาได้ หรือ ถ้าเด็กโตขึ้นมาหน่อย ได้พูดหรือบ่นออกมาเกี่ยวกับปัญหาการมองเห็น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ร่วมถึงคุณครู ต้องใส่ใจ และ สอบถามเด็กให้แน่ชัด และ นำตัวมาตรวจสายตาทันที ถ้าเป็นไปได้

ประเด็นปัญหา ที่เป็นห่วง

  • ถ้าเด็กมีปัญหาสายตา เด็กมองไม่ชัดขึ้นมา เด็กบางคนอาจจะก็ต้องรอจนถึงอายุ 7-9 ขวบ ถึงจะสามารถพูดออกมาบอกผู้ปกครอง หรือ คุณครูได้ว่า มอง “ไม่ชัด” หรือ “มัว” นั้นแปลว่า เด็กน้อยคนนี้ ที่ผ่านมา ผ่าน เตรียมอนุบาล อนุบาล ชั้นประถมต้น นั้น เรียนรู้กับสายตาที่มองไม่เห็นมาตลอดเวลา นั้นจะส่งผลเสียกับตัวเด็กเป็นอย่างมาก
  • ปัญหาสายตา บางอย่าง เช่น สายตาขี้เกียจ ถ้ามาเจอในเด็ก ที่มีอายุ มากกว่า 6 ปี แล้ว นั้น โอกาสในการรักษาแล้วการมองเห็นจะกลับมาปกตินั้นค่องข้างยากแล้ว เพราะ สมองได้ชลอและหยุดการพัฒนาแล้ว

ประเด็น: อายุ การมองเห็น และพูด ของเด็ก

  • เด็กไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสายตาที่เขามองเห็น มีความ “มัว” หรือมีความ”ชัด” แบบไหน เด็กไม่เข้าใจ
  • ช่วงอายุ ที่เด็กเริ่มที่จะแยกแยะ ได้ ว่า “มัว” “ไม่ชัด” : อยู่ที่ช่วงอายุวัยเรียน 6 ปีขึ้นไป
  • ช่วยอายุที่ ผม เจอบ่อยๆ คือ ช่วงอายุ 7-9 ขวบ ที่จะสามารถแยกแยะได้ และ พูดออกมา ว่า” มัว”หรือ “ไม่ชัด”

ประเด็น : สายตา กับ การเรียนรู้ ของเด็ก

  • 70-80% ของการเรียนรู้ของเด็ก มาจากการมองเห็น ถ้าเด็กมีปัญหาสายตา มองไม่ชัด ก็จะทำให้ การเรียนรู้ของเขาบกพร่องไปด้วย
  • สายตาที่มัว จะส่งผลไปยัง สมอง ที่ได้รับข้อมูล ที่ มัว จากดวงตา ซึ่งด้วยเหตุนี้ ทำให้ สมองแปลข้อมูลได้ไม่ดี และ จะส่งผลต่อการเรียนรู้ของ นักเรียน เป็นอย่างมาก และ ยังส่งผลให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่แปลกไป เช่น ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบกิจกรรมกลางแจ้ง ชอบเก็บตัว

ประเด็น: การสังเกต “พฤติกรรมของเด็กที่มีปัญหาสายตา”

  1. เด็กจะชอบถามเพื่อนข้างๆ ❤️
  2. เด็กจะชอบนั่งข้างหน้า ❤️
  3. เด็กจะเอาโทรศัพท์ถ่ายรูปกระดาษเรียน และค่อยมาขยายในหน้าจอโทรศัพท์อีกที่❤️
  4. เด็กฟังแค่เสียงคุณครูสอน ❤️
  5. เด็กลอกจากเพื่อนที่จด ❤️
  6. เด็กขอบหรี่ตามอง ❤️
  7. เด็กชอบดูหนังสือหรือโทรศัพท์ใกล้ตามากๆ❤️
  8. เด็กชอบบ่นว่ามองไม่เห็น❤️

ประเด็นบังคับ

  • ในเด็กที่มี กรรมพันธุ์ ที่ พ่อแม่ พี่น้องน้อง มีปัญหาสายตานั้น บังคับ ที่ ผู้ปกครอง ต้องนำเด็กไปตรวจสายตา เพราะ มีโอกาสสูง ที่ เด็ก จะมี ปัญหา สายตาและ การมองเห็น จาก กรรมพันธุ์

ประเด็น: อายุของเด็กที่แนะนำ ให้นำมาตรวจสายตาและระบบการมองเห็น แบ่งเป็น

  • 3 ขวบ ก่อนเข้า อนุบาล
  • 4 ขวบ อนุบาล 1
  • 5 ขวบ อนุบาล 2
  • 6 ขวบ ก่อนเข้า ป.1
  • 9 ขวบ ก่อนเข้า ป.4
  • 12 ปี ก่อนเข้า มัธยมต้น ม. 1
  • 15 ปี ก่อนเข้า มัธยมปลาย ม. 4

ในกรณีที่เด็กมีปัญหาสายตาหรือกำลังใส่แว่นอย่างน้อย ทุกๆ 1-2 ปี

⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️

ความเชื่อของพวกเรา ดร.ซุล การแว่น คือ

“สายตา คือ สิ่งสำคัญในชีวิต” เราพร้อมที่จะดูแล สิ่งสำคัญของชีวิตคุณ ❤️

ขอขอบคุณสำหรับการติดตาม “ญาซากั้ลลอฮฺ ค็อยร็อน”