ทางเดินของแสง และ องค์ประกอบของตา

หลายท่านอาจสงสัยว่า ในดวงตาของเรานั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ซึ่งแต่ละองค์ประกอบนั้นมีความสำคัญไม่แพ้กัน
ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่า ว่ามีอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง เพื่อที่เราจะได้เข้าใจ และใส่ใจ การดูแลรักษาดวงตาของเรามากขึ้นการมองเห็นวัตถุ เกิดจากการที่แสงตกกระทบสิ่งต่างๆ แล้วเกิดการสะท้อนเข้าสู่ตาเรา โดยผ่านส่วนนอกสุดคือ

  1. กระจกตา (Cornea) เป็นส่วนของตาดำ บางคนเปรียบเปรยว่าเป็นหน้าต่างของดวงตา เพราะตามปกติกระจกตาจะมีความใส และทำให้เกิดการหักเหของแสงมากที่สุด กระจกตาประกอบด้วยเนื้อเยื่อทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นบนที่สุดเรียกว่า epithelium เป็นปราการด่านแรกที่ ปกป้องดวงตาจากการได้รับอันตราย ซึ่งชั้น epithelium นี้เป็นชั้นที่มีเซลล์ที่มีความสามารถในการแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถแบ่งตัวมาคลุมกระจกตาได้หมดภายใน 3 วัน ทำให้การหายของแผลเกิดได้อย่างรวดเร็วหลังการเกิดแผลที่กระจกตาขึ้น ในส่วนของเซลล์ชั้นกลางซึ่งเป็นชั้นที่หนาที่สุดของกระจกตาจะเสริมสร้างความแข็งแรงให้ดวงตา ซึ่งการทำเลสิกจะทำในชั้นนี้ ของกระจกตา หน้าที่ทำหน้าที่โฟกัสหักเหแสงจากวัตถุให้เข้าในลูกตา
  2. รูม่านตา (Pupil) เป็นรูกลม ๆ ที่เห็นในดวงตา มหน้าที่: ควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่ลูกตา เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้า ม่านตาจะหดทำให้แสงเข้าตาได้น้อยลง ส่วนในที่มืดม่านตาจะขยายเพื่อให้แสงเข้าตาได้มาก
  3. ม่านตา (Iris) เป็นส่วนที่มีสีซึ่งแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ บ้างเป็นสีเขียว บ้างเป็นสีฟ้า สีน้ำตาล หรือสีดำ หน้าที่ของม่านตาคือช่วยในการควบคุมขนาดของรูม่านตา โดยการหดตัวหรือขยายตัวของกล้ามเนื้อม่านตา
  4. เลนส์แก้วตา (Lens) เป็นส่วนเลนส์ที่ใสอยู่หลังม่านตา หน้าที่ของเลนส์แก้วตาคือช่วยโฟกัสเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจนมากขึ้นสำหรับการอ่านหรือการมองระยะใกล้ โดยการปรับรูปร่างของเลนส์ให้เหมาะสม ในคนที่มีอายุประมาณ 40-50 ปี ความสามารถในการปรับตัวส่วนนี้จะลดลง ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “สายตายาวตามอายุ” (Presbyopia) และในช่วงอายุประมาณ 60-70 ปี เลนส์แก้วตาจะมีลักษณะขุ่นและแข็งขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวะเคมีซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า “ต้อกระจก” ส่งผลให้แสงหักเหเข้าตาได้ยากขึ้น
  5. วุ้นตา (Vitreous) น้ำวุ้นตาลักษณะคล้ายเจลอยู่ด้านในช่องหลังลูกตา ทำหน้าที่ : ให้ลูกตาคงรูปลักษณะกลมตลอดเวลา ในผู้ที่มีสายตาสั้นมาก ๆ บางครั้งอาจสังเกตเห็นว่ามีจุดดำหรือใยสีดำลอยไปมาในน้ำวุ้นตา ซึ่งเกิดจากการที่น้ำวุ้นตาเสื่อมนั่นเอง
  6. จอประสาทตา (Retina) จอประสาทตาประกอบด้วยเส้นประสาทตาที่มีความละเอียดสูงอยู่ในผนังชั้นในของลูกตา ทำหน้าที่: คล้ายกับฟิล์มถ่ายรูปโดยจะส่งผ่านรูปไปยังสมอง ซึ่งในภาวะสายตาปกติ การหักเหของแสงจะลงมาตกกระทบที่จอประสาทตาพอด
  7. เส้นประสาท (Optic Nerve) เป็นตัวส่งผ่านการกระตุ้นของการมองเห็นจากจอประสาทตามายังสมอง

ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม

สวัสดีครับ
ดร.ซุล
สายตา คือ สิ่งสำคัญในชีวิต
เราจะดูแลสิ่งสำคัญในชีวิตคุณ ให้ดีที่สุด